ฤดูฝนมาถึงแล้ว ได้เวลาที่เจ้านายต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคต่าง ๆ ที่จะเข้ามาก่อกวนสัตว์เลี้ยงของเรา วันนี้มารู้จักโรคต่าง ๆ และวิธีป้องกันง่าย ๆ เพื่อความสุขของน้องหมาน้องแมว มีดังนี้เล้ยยย
1.ความเปียกชื้น นำไปสู่ โรคผิวหนังและขนร่วง, ไข้หวัด, หลอดลมอักเสบ, ไข้หัด ฤดูฝนจะมีความชื้นสูงขึ้นมาก เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้น้องหมาน้องแมวเกิดตุ่มหรือผื่นคัน อาจทำให้เกิดเชื้อราจากบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ยากเช่น ใบหูด้านใน ง่ามนิ้วเท้า รอบตา เป็นต้น สังเกตุจากอาการเกาบ่อย ๆ หรือสะบัดหูมากเกินผิดปกติวิธีป้องกัน ไม่ให้น้องหมาน้องแมวตัวเปียกเป็นระยะเวลานาน ควรเช็ดตัวหรือเป่าขนให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก หมั่นดูแลทำความสะอาดบ้าน, กรง หรือเบาะของสัตว์เลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ.
2.ความเครียด นำไปสู่ โรคซึมเศร้า, ขี้ระแวง, หวาดกลัว เมื่อฝนตก ฟ้าร้อง หรือฟ้าผ่า สามารถทำให้สัตว์เลี้ยงของเราหวาดกลัว โดยเฉพาะน้องที่อายุยังน้อย ส่งผลให้เกิดความเครียดได้ สังเกตุได้จากอาการหางตก ใบหน้าตื่นตระหนก อยู่ไม่เป็นสุข ตัวสั่นวิธีป้องกัน ในช่วงฝนตกหนักและมีฟ้าร้องควรนำสัตว์เลี้ยงมาไว้ข้างกาย กอดหรือนวดสัมผัสให้เกิดความผ่อนคลายและปลอดภัย ให้อยู่ในผ้าห่มหรือผ้าผืนหนา ๆ หรือเปิดทีวี เปิดเพลงที่มีเสียงดังกลบเสียงฟ้าร้องได้.
3.เชื้อแบคทีเรีย นำไปสู่ โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร, โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ, โรคฉี่หนู เชื้อแบคทีเรียที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝนปนเปื้อนลงไปในอาหาร และมาตามอากาศทำให้น้องหมาน้องแมวมีอาการซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง ไอหรือมีไข้สูงได้ รวมถึงโรคฉี่หนูที่มักติดเชื้อจากการสัมผัสกับน้ำ ดิน โคลนหรือฉี่ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอื่น ๆ วิธีป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ไม่ให้สัตว์เลี้ยงออกจากบ้านในขณะที่ฝนตกและให้ดื่มอาหารและน้ำสะอาดไม่ค้างคืน หมั่นดูแลทำความสะอาดบ้าน, กรง เบาะของสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ.
4.เห็บและหมัด นำไปสู่โรค โลหิตจาง, ภูมิแพ้น้ำลายหมัด เห็บและหมัดมักมีจำนวนมากขึ้นในช่วงฤดูฝนเนื่องจากเป็นปรสิตที่ชอบความชื้น ยิ่งช่วยให้ตัวอ่อนแพร่ขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและภูมิคุ้มกันลดลง เกิดโรคได้ง่าย วิธีป้องกัน ฉีดยากำจัดเห็บและหมัด ใช้ปลอกคอกันเห็บ อาบน้ำสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ และทำความสะอาดทุกซอกทุกมุมภายในบ้านอยู่สม่ำเสมอ.
5.พยาธิต่างๆ นำไปสู่โรค พยาธิในเม็ดเลือด, พยาธิหนอนหัวใจพยาธิในเม็ดเลือดมีพาหะมาจากเห็บ ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร พยาธิหนอนหัวใจมีพาหะมาจากยุง ส่งผลให้มีอาการไอแห้งๆ, เป็นลม, เหนื่อยง่ายวิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงการให้สัตว์เลี้ยงของเราคลุกคลีกับสัตว์ตัวอื่นนอกบ้าน รวมถึงให้กินยาหรือหยดยาป้องกันเห็บหมัดพยาธิหนอนหัวใจ รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมอ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-645-4121 062-654-4991
—————————————-
Line : https://lin.ee/taDi1Tn
Map : https://joo.gl/NUMai
ที่จอดรถ : https://bit.ly/2UZjR6O
—————————————-
: โรงพยาบาลสัตว์จัสโก้รัชดา
: เปิดทุกวัน 09:00-21:00 น
: ที่จอดรถฟรี
—————————————-